ค้นหาบล็อกนี้

16/7/55

ถือศีลอดด้วย "หัวใจ"


หัวข้อเรื่อง : รอมฎอนเป็นเดือนแห่งการเปลี่ยนแปลง, อิบาดะฮฺผูกพันกับตักวา (จิตภักดี) ตักวาอยู่ที่หัวใจ มุสลิมจึงต้องปฏิบัติอิบาดะฮฺ (อ่านกุรอาน, ถือศีลอด,ละหมาดกิยามุลลัยลฺ) ด้วยหัวใจ, เปลี่ยนแปลงชีวิตด้วยหัวใจ
สถานที่:  บ้านตานีพันธ์ ริมคลองบางกอกน้อย
วันที่: 15 ก.ค. 55 / 25 ชะอฺบาน 1433
ความยาว(นาที):  78 นาที

รอมฎอนของบรรพชน


สิ่งที่ควรเตรียมพร้อมเพื่อปฏิบัติในเดือนรอมฎอน
  • ปฏิบัติอย่างถูกต้อง
  • ปฏิบัติอย่างสมบูรณ์
  • ปฏิบัติอย่างสวยงาม
  • อิบาดะฮฺในเดือนรอมฎอน

รอมฎอน : เดือนแห่งอัลกุรอาน เดือนแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิต


ตอบปัญหา

  1. ละหมาดซุบฮิตอนฟ้าสว่างแล้วต้องอ่านเสียงดังหรือไม่
  2. ละหมาดตะรอวีหฺ ระหว่างการอ่านซูเราะฮฺยาวๆ โดยการเปิดดูอัลกุรอาน กับการอ่านซูเราะฮฺสั้นๆ เท่าที่อ่านได้ แบบไหนดีกว่ากัน

15/7/55

ปัญหากิยามุลลัยลฺ (ละหมาดกลางคืน)

1. คำถาม :

1. จากหนังสือวิธีละหมาดตามบัญญัติอิสลาม ของอัล-อิศลาหฺสมาคมบางกอกน้อย เมื่อท่านนบีละหมาดตะฮัจญุดนั้น ท่านเริ่มละหมาดด้วย 2 ร็อกอะฮฺสั้นๆ แล้วจะละหมาดต่อไปจนครบจำนวนที่ต้องการ คือ 11 ร็อกอะฮฺให้สลามทุกๆ สองร็อกอะฮฺและสุดท้ายให้ละหมาดวิตริเป็นเอกเทศ ในเดือนนรอมฏอนเรามีการละหมาดตะรอเวียะฮฺ 8 ร็อกอะฮฺ ละหมาดวิตริ 3 ร็อกอะฮฺ รวม 11 ร็อกอะอฺ

วิธีต้อนรับเดือนรอมฎอน 3


วิธีที่ 5 مُدَارَسَةُ أَحْكَامِ الصِّيَام
การศึกษาวิธีถือศีลอดตามบัญญัติอิสลาม
-------------------------------------------

ต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยการศึกษาแสวงหาความรู้ เกี่ยวกับการถือศีลอด และปัญหาที่เกี่ยวข้องที่อาจเกิดขึ้นในเดือนรอมฎอน เพื่อเป็นการเตรียมตัวปฏิบัติอิบาดะฮฺอย่างถูกต้อง เพราะเราถูกใช้ให้ถามผู้รู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราทุกๆคนที่ต้องเอาใจใส่ความรู้ในเรื่องนี้ อย่าถือว่าเป็นเรื่องเล็ก เพราะผลกระทบจากการที่ไม่รู้หลักการของการถือศีลอดนั้น อาจทำให้สูญเสียซึ่งผลบุญที่เรามุ่งมั่นแสวงหาอย่างขะมักเขม้น จึงทำให้พวกเราขาดทุนโดยไม่รู้สึกตัว

วิธีต้อนรับเดือนรอมฎอน 2


วิธีที่ 3 الدُّعَاءُ
การวิงวอน(ดุอาอฺ)   
----------------------------------------
การวิงวอน(ดุอาอฺ)ต่ออัลลอฮฺ ให้เรามีชีวิตอยู่เพื่อปฏิบัติอิบาดะฮฺในเดือนรอมฎอนอีกครั้งหนึ่ง ด้วยสุขภาพพลานามัยอันสมบูรณ์

قَالَ أَنَسُ بْنُ مَالِكٍ : كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا دَخَلَ رَجَب قَالَ : اللَّهُمَّ بَارِكْ لَنَا في رَجَبِ وَشَعْبَانَ وَبَلِّغْنَا رَمَضَانَ .   رواه أحمد والطبراني

14/7/55

วิธีต้อนรับเดือนรอมฎอน 1

เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
วิธีที่ 1 إظهار السُّرُوْرُ
แสดงความปลื้มใจเนื่องในโอกาสต้อนรับเดือนรอมฎอน
-------------------------------

ต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยการแสดงความยินดี ความปลื้มใจ เช่นที่ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวเมื่อใกล้เดือนรอมฎอนว่า

جَاءَكُمْ شَهْرُ رَمَضَانَ , شَهْرُ رَمَضَانَ شَهْرٌ مُبَارَكٌ كَتَبَ اللهُ عَلَيْكُمْ صِيَامَهُ فِيْهِ تُفْتَحُ أَبْوَابُ الجِنَانِ وَتُغْلَقُ فِيْهِ أَبْوَابُ الجَحِيْمِ ... الحديث . أخرجه أحمد
ความว่า : เดือนรอมฎอนมายังพวกท่านแล้ว เดือนรอมฎอนเป็นเดือนอันมีความจำเริญยิ่ง อัลลอฮฺทรงบัญญัติให้พวกท่านถือศีลอดในเดือนนี้ ประตูต่างๆของสวรรค์จะถูกเปิด และประตูต่างๆของนรกจะถูกปิด  (บันทึกโดยอิมามอะหมัด)

[สไลด์] วิธีต้อนรับเดือนรอมฎอน





12/7/55

รอมฎอน 1432

หัวข้อเรื่อง: 
คืนนิสฟูชะอฺบาน - มีความประเสริฐ แต่ไม่มีอิบาดะฮฺพิเศษในคืนนี้ที่ทำท่านนบีสอนไว้, ความยิ่งใหญ่ของเดือนรอมฎอน, การเตรียมตัว, เรื่องหลักที่ต้องทบทวนในรอมฎอนคือกุรอานมีอิทธิพลต่อชีวิตเราอย่างไร มากน้อยแค่ไหน, วัตถุประสงค์ของการทบทวนอัลกุรอานคือ รู้จักอัลลอฮฺมากขึ้น รู้จักคำสอนของพระองค์มากขึ้น และเปลี่ยนแปลงชีวิตมากขึ้น
สถานที่: 
 มัสญิดอัลอะตี๊ก เจริญกรุง
วันที่: 
 17.7.11

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการถือศีลอด


ดุอาอฺก่อนละศีลอด

ذَهَبَ الظَمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِن شَاءَ اللهُ

( ซะฮะบัซ เซาะมะอุ วับตั้ลละติ้ลอุรู้ก วะษะบะตัลอัจญฺรุ อินชาอัลลอฮฺ )

“ความกระหายได้หมดสิ้นไป เส้นโลหิตได้ชุ่มชื่น และจะได้รับผลบุญอย่างแน่นอน อินชาอัลลอฮฺ“

11/7/55

เมื่อดาอียะฮฺก้าวสู่รอมฎอน

หัวข้อเรื่อง:  ในเดือนรอมฎอนดาอียะฮฺต้องมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคม ทั้งในมิติส่วนตัว ครอบครัว หรือสังคมทั่วไป
สถานที่:  มัสญิดอัลอะตี๊ก / วันที่บรรยาย:  18 ชะอฺบาน 1433



ปฏิทินรอมฎอน

ปฏิทินเวลาละหมาดกรุงเทพและต่างจังหวัด
เดือนรอมฎอนและเดือนอื่นๆ

10/7/55

อัลหุดาวัลฟุรกอน (อัลบะเกาะเราะฮฺ 185)


ริฎอ อะหมัด สมะดี
วารสารร่มเงาอิสลาม ตุลาคม 2548

ตัพซีร : ซูเราะตุลบะเกาะเราะฮฺ 185


﴿ شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِيْ أُنْزِلَ فِيْهِ القُرْآنُ هُدَىً لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الهُدَى وَالفُرْقَان  ﴾ البقرة 185


ความว่า : “เดือนรอมฎอนนั้นเป็นเดือนที่ อัลกุรอานถูกประทานลงมา ในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ”


รอมฎอนเดือนแห่งชัยชนะ


ริฎอ อะหมัด สมะดี
เดือนรอมฎอน 1424

มนุษย์ย่อมมีการขาดทุนเสมอ ยกเว้นผู้ประกอบความดีและดำรงชีวิตบนหนทางของศาสนาอย่างเคร่งครัด และในทุกเวลามนุษย์จะมีโอกาสทบทวนคุณค่าของชีวิตของเขา อันเป็นวิถีทางในการสำรวจความศรัทธาและความผูกพันกับพระผู้เป็นเจ้า บุคคลที่ไม่สำนึกถึงความสำคัญของเวลา ย่อมจะไม่มีโอกาสประกอบความดี อันเนื่องจากไม่มีการคำนึงถึงความโปรดปรานและคุณค่าของเวลาและชีวิต จึงเป็นเหตุที่ทำให้มนุษย์นั้นจะอยู่ในความทุกข์ตลอดกาล อัลอิสลามสอนให้เราตระหนักในคุณค่าของเวลา และระลึกถึงโลกหน้าอันเป็นเป้าหมายสำหรับผู้ศรัทธาที่ใช้ชีวิตอย่างประหยัดและคุ้มค่า โดยมีหลักการของศาสนาเป็นมาตรการที่จะควบคุมกิจกรรมของชีวิตของมุอฺมิน

9/7/55

ทำอย่างไรให้กิยามุลลัยลฺมีรสชาติ ?


ริฎอ อะหมัด สมะดี

 1.อย่าลืมว่าใครละหมาดกิยามุลลัยลฺในเดือนรอมฎอน ด้วยความศรัทธาและหวังในผลบุญของอัลลอฮฺ จะได้รับอภัยโทษต่อความผิดที่ทำมาตลอดอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละหมาดกิยามุลลัยลฺในคืนอัลก็อดรฺ(คืนคี่)
2. พยายามละหมาดตามแบบฉบับของท่านนบีให้มากที่สุด คือ 11 ร็อกอะฮฺและละหมาดให้ยาวนาน
3. พยายามรำลึกถึงความหมายของอัลกุรอาน
4. ถ้าไม่เข้าใจก็พยายามรำลึกถึงประเด็กเดียวคือ "ท่านกำลังฟังพระดำรัสของอัลลอฮฺอยู่" แม้ว่าไม่เข้าใจ แต่ท่านก็ต้องมีความสุขที่กำลังฟังคำสั่งของพระเจ้าของท่าน

หนังสือกิยามุลลัยลฺ

การละหมาดตะรอวีหฺ, ละหมาดวิตรฺ, ดุอาอฺกุนูต

การละหมาดกลางคืนเป็นอิบาดะฮฺที่เป็นเอกลักษณ์ของประชาชาติอิสลาม มุสลิมคือผู้ที่ฟื้นฟูช่วงกลางคืนด้วยการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา  ไม่เหมือนคนอื่นที่มักใช้ช่วงกลางคืนเพื่อความสนุกสนานหรือนอนหลับ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา  ทรงทำให้กลางคืนเป็นเสมือนเครื่องอาภรณ์และเป็นเวลาส่วนตัว ดังที่พระองค์ตรัสว่า
وَجَعَلْنَا اللَّيْلَ لِبَاساً
ความว่า “และเราได้ทำให้กลางคืนเสมือนเครื่องปกปิดร่างกาย” (อันนะบะอฺ 78/10)
اللَّيْلَ لِتَسْكُنُواْ فِيهِ ... هُوَ الَّذِي جَعَلَ لَكُمُ
ความว่า “พระองค์คือผู้ทรงประทานกลางคืนให้แก่พวกท่าน เพื่อพวกท่านจะได้พักผ่อน ...” (ยูนุส 10/67)...

ความรู้เกี่ยวกับเดือนรอมฎอน (ฉบับย่อ)

เนื้อหา : 
หน้า 1 - เดือนรอมฎอน...,วิธีต้อนรับเดือนรอมฎอน
หน้า 2 -  บทบัญญัติเกี่ยวกับการถือศีลอด, 1. จำเป็นต้องถือศีลอดเดือนรอมฎอน, 2. คุณประโยชน์ของการถือศีลอด,  3. การตั้งเจตนารมณ์ (เหนียต)
หน้า 3 - 4. เวลาของการถือศีลอด, 5. การรับประทานสะฮูร, 6. สิ่งจำเป็นที่ผู้ถือศีลอดควรละเว้น, 7. สิ่งที่อนุญาตให้ผู้ถือศีลอดปฏิบัติได้
หน้า 4 - 8. อุปสรรคของการถือศีลอด, 9. การแก้ศีลอด,  10. การให้อาหารแก่ผู้ถือศีลอด
หน้า 5 - 11. สิ่งที่ทำให้เสียการถือศีลอด, 12. การไถ่โทษ (อัลกั้ฟฟาเราะฮฺ), 13. อัลฟิดยะฮฺหรือการชดใช้
หน้า 6 - 14. คืนอัลก็อดรฺ, 15. อัลเอี๊ยะอฺติก๊าฟ
หน้า 7 - 16. ละหมาดตะรอวีหฺ, 17. ละหมาดวิตร
หน้า 8 - 18. ซะกาตุลฟิฏรฺ

ซะกาตุลฟิฏรฺ ฟิฏเราะฮฺ หลังรอมฎอน


  • บทเรียนจากเดือนรอมฎอน (คุฏบะฮฺ) audio
  • 22. การถือศีลอดซุนนะฮฺ story

  • 29 ส.ค.54 - อัศศิร้อฏ อัลมุสตะกีม (ตอบปัญหา), ข่าว TND, อยู่ในสังคมด้วยอิสลาม audio_rit
    1 ก.ย.54 - รักซุนนะฮฺ, สารัตถะแห่งอิสลาม, โครงการกุรบาน audio_rit
    อีดและอุฎหิยะฮฺ(กุรบาน) Page
    ซะกาตฟิตเราะฮฺ ไปให้เองหรือควรรวบรวม qa
    การดูเดือน(หิล้าล)มีซุนนะฮฺอะไรบ้าง qa
    ขนาดตวง 1 มุด เท่ากับกี่กิโลกรัม qa
    จ่ายฟิดยะฮฺและฟิฏเราะฮฺให้ต่างศาสนิกได้หรือไม่ qa
    มีคนมอบหมายให้จ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺให้... qa



    2 ก.ย.54 - สารธรรมยามเย็น, ข่าว(อะซาน), คิฏอบุลอิสลาม audio_rit
    รวมคำถามที่ตอบแล้ว (ก.ย.53/ รอมฎอน-เชาวาล 1431) Book page
    การถือศีลอด 6 วัน (เชาวาล) หลังรอมฎอน qa
    การออกซะกาตฟิฏเราะฮฺ อยู่ต่างประเทศไม่มีมุสลิมคนจนเลย... qa

    ซะกาตฟิฏรฺ ควรให้คนกี่จำพวก ต้องให้ทั้ง 8 จำพวกหรือไม่ ควรให้คนใกล้บ้านก่อน... qa

    เราจะถือศีลอดใช้ โดยเนียตร่วมกันการถือศีลอดอีก 6 วันเลยได้หรือไม่ qa

    ข้าวฟิฏเราะฮฺที่ต้องออก หนักประมาณกี่กิโล ถ้าครอบครัวหนึ่งมีสี่คน จะออกฟิฏเราะฮฺ 8... qa

    ดุอาอฺเมื่อเห็นจันทร์เสี้ยว กล่าวเฉพาะคนที่เห็น หรือคนที่ได้ยินข่าวด้วย qa
    นะซีหะฮฺ : เมื่อรอมฎอนจากไป audio


    ซุนนะฮฺในวันอีด audio
    คุตบะฮฺวันอีดิ้ลฟิฏรฺ 1429 audio
    คุฏบะฮฺวันอีดิ้ลฟิฏรฺ 1425 audio
    คุฏบะฮฺวันอีดิ้ลฟิฏรฺ 1427 audio
    ซะกาตุ้ลฟิฏรฺ audio


    ถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาวาลถูกต้องหรือไม่ audio

    หนังสือการถือศีลอดตามบัญญัติอิสลาม

    โดย อาจารย์อะหมัด สมะดี ร่อหิมะฮุลลอฮฺ / ชมรมอัซซุนนะฮฺ


    สารบัญ


    ความประเสริฐของเดือนรอมฎอน
    สังคมมองเดือนรอมฎอนอย่างไร
    วิธีต้อนรับเดือนรอมฎอน
    บัญญัติเกี่ยวกับการถือศีลอด
    คุณประโยชน์ของการถือศีลอด
    คุณประโยชน์ของเดือนรอมฎอน
    จำเป็นต้องถือศีลอดเดือนรอมฎอน
    สนับสนุนให้ถือศีลอดเดือนรอมฎอน
    การปรากฏของเดือนรอมฎอน
    การตั้งเจตนารมณ์ (เหนียต)
    เวลาของการถือศีลอด
    สะฮูร
    สิ่งจำเป็นที่ผู้ถือศีลอดควรละเว้น
    สิ่งที่อนุญาตให้ผู้ถือศีลอดปฏิบัติได้
    อุปสรรคของการถือศีลอด
    การแก้ศีลอด
    สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด
    การถือศีลอดใช้
    การไถ่บาปหรือไถ่โทษอัลกั๊ฟฟาเราะฮฺ
    อัลฟิตยะฮฺหรือการชดใช้
    คืนอัลก็อดรฺ
    อัลเอี๊ยะอฺติก๊าฟ
    ละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺ
    ซะกาตตุลฟิฏรฺ
    การถือศีลอดซุนนะฮฺ
    รอมฎอนเป็นเดือนแห่งการอบรมจิตใจ
    หลังจากรอมฎอนแล้วเราจะปฏิบัติตัวอย่างไร?

    ตอบปัญหา : อื่นๆ

    ปัญหาอื่นๆ


    ตอบปัญหา : การจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ และฟิดยะฮฺ


    การจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ และฟิดยะฮฺ

    ตอบปัญหา : การละหมาดตะรอวีหฺและวิตรฺ



    ตอบปัญหา : มุสลิมะฮฺ, เลือดสตรี, สตรีตั้งครรภ์และให้นม



    ตอบปัญหา : การถือศีลอด



    ตอบปัญหา : การถือศีลอดชดใช้และศีลอดซุนนะฮฺในเดือนชะอฺบาน




    ซุนนะฮฺในเดือนชะอฺบาน


    เชคริฎอ อะหมัด สมะดี


    ในขณะที่ประชาชาติอัลอิสลามกำลังต้อนรับเดือนชะอฺบาน เป็นโอกาสดีที่ “อัซซุนนะฮฺ” จะนำเสนอข้อมูลแห่งบทบัญญัติศาสนาอิสลามเกี่ยวกับความประเสริฐของเดือนชะอฺบานและภาคปฏิบัติที่ควรปรากฏในเดือนนี้ ซึ่งจะแบ่งเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้


    1. การถือศีลอดในเดือนชะอฺบาน


    เป็นสิ่งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ปฏิบัติและสนับสนุน โดยมีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺกล่าวไว้ว่า “ท่านนบีมักจะถือศีลอดจนกระทั่งเรานึกว่าท่านจะไม่เว้น และท่านอาจจะงดการถือศีลอดจนกระทั่งเรานึกว่าท่านจะไม่ถือศีลอด และฉันไม่เคยเห็นท่านนบีถือศีลอดครบเดือนหนึ่งเดือนใดเว้นแต่เดือนรอมฎอน และไม่เคยเห็นท่านถือศีลอดมากมายเหมือนที่ท่านถือศีลอดในเดือนชะอฺบาน” (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)

    และมีรายงานจากท่านอุซามะฮฺ อิบนุซัยดฺ กล่าวว่า “ฉันได้พูดกับท่านนบีว่า โอ้ร่อซูลของอัลลอฮฺ ฉันไม่เคยเห็นท่านขยันถือศีลอดในเดือนหนึ่งเดือนใดเหมือนที่ท่านถือศีลอดในเดือนชะอฺบาน (หมายถึงถือศีลอดซุนนะฮฺ)”  ท่านนบีจึงตอบว่า


    (( ذلِكَ شَهْرٌ تَغْفُلُ النَّاسُ فِيهِ عَنْهُ ، بَيْنَ رَجَبٍ وَرَمَضَانَ ،
     وَهُوَ شَهْرٌ تُرْفَعُ فِيْهِ الأَعْمَالُ إِلَى رَبِّ الْعَالَمِيْنَ ،  وَأُحِبُّ أَنْ يُرْفَعُ عَمَلِي وَأَنَا صَاِئم ))

    ความหมาย “นั่น(เดือนชะอฺบาน)เป็นเดือนที่มนุษย์มักจะเพิกเฉยระหว่างเดือนรอยับและเดือนรอมฎอน และเป็นเดือนที่บรรดาการกระทำจะถูกยกและถูกเสนอต่อองค์พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก และฉันชอบให้การกระทำของฉันถูกยกและถูกเสนอขณะที่ฉันถือศีลอด” (บันทึกโดยอิมามนะซาอียฺและอิมามอบีดาวู้ด; ดู “ศ่อฮีฮุตตัรฆีบวัตตัรฮีบ”)

    ท่านอิมามอิบนุรอยับกล่าวว่า การถือศีลอดในเดือนชะอฺบานมีความประเสริฐยิ่งกว่าการถือศีลอดในเดือนต้องห้าม(อัลอัชฮุรุลหุรุม) และการถือศีลอดซุนนะฮฺที่ดีที่สุดคือการถือศีลอดในบรรดาวันใกล้ชิดก่อนหรือหลังเดือนรอมฎอน ซึ่งจะมีตำแหน่งเสมือนการละหมาดซุนนะฮฺก่อนและหลังละหมาดฟัรฎู เพื่อเป็นการปรับปรุงข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติฟัรฎู นับเป็น การละหมาดซุนนะฮฺที่ประเสริฐยิ่งในบรรดาการละหมาดซุนนะฮฺทั่วไป เช่นเดียวกัน การถือศีลอดซุนนะฮฺก่อนหรือหลังเดือนรอมฎอน ก็จะเป็นการถือศีลอดซุนนะฮฺอันประเสริฐยิ่งกว่าการถือศีลอดซุนนะฮฺโดยทั่วไป

    และในหะดีษที่พูดถึงการเพิกเฉยเดือนชะอฺบาน มีบทเรียนให้เราขยันทำอิบาดะฮฺในช่วงเวลาหรือสถานที่ที่มนุษย์มักจะหลงลืมการระลึกถึงอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา อาทิเช่น การละหมาดหรือทำอิบาดะฮฺระหว่างมักริบและอิชาอฺ เป็นการทำอิบาดะฮฺที่มีความประเสริฐ ซึ่งบรรดาอัสสะละฟุศศอและฮฺจะชอบทำอิบาดะฮฺในช่วงเวลานี้ โดยมีเหตุผลว่าเป็นเวลาที่คนมักจะเพิกเฉยในการทำอิบาดะฮฺ และการซิกรุลลอฮฺในสถานที่ทำการค้า(ตลาด)ก็มีความประเสริฐมากเพราะเป็นที่ที่มนุษย์มักจะลืมซิกรุลลอฮฺ

    2. การอ่านอัลกุรอาน 

    ท่านสะละมะฮฺ อิบนุกุฮัยลฺ กล่าวว่า เขา(ชาวสะลัฟ)จะเรียกเดือนชะอฺบานว่า “เดือนแห่งนักอ่านอัลกุรอาน” และท่านอัมรฺ อิบนุก็อยสฺ เมื่อถึงเดือนชะอฺบานเขาจะเลิกทำการค้าและขยันอ่านกุรอาน และท่านอบูบักร อัลบัลคียฺ กล่าวว่า เดือนรอยับเป็นเดือนแห่งการปลูก และเดือนชะอฺบานเป็นเดือนแห่งการรดน้ำ และเดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว

    ความประเสริฐแห่งการอ่านอัลกุรอานในเดือนชะอฺบานนั้นเหมือนการถือศีลอด คือต้องการให้ฝึกฝน ขัดเกลา เพื่อให้มีความอยากและเคยชินในการปฏิบัติ มิฉะนั้นมุอฺมินจะเข้าสู่เดือนรอมฎอนโดยมีสนิมเกาะอยู่กับอีมานและความปรารถนา จึงต้องขยันขัดเกลาเพื่อขจัดสนิมที่เกาะอยู่ในหัวใจให้หมดเกลี้ยง โดยเป็นหัวใจที่มีความตั้งใจในการทำอิบาดะฮฺในเดือนรอมฎอน


    3. รักษาอีมานจากความโสมมแห่งชิริก และรักษามนุษยสัมพันธ์จากความมุ่งร้ายต่อพี่น้อง

    ในการบันทึกของอิมามอิบนุฮิบบาน  รายงานโดยท่านมุอ๊าซ  บินญะบัล จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า

    (( يطلع الله إلى جميع  خلقه ليلة النصف من شعبان فيغفر لجميع خلقه إلا لمشرك أو مشاحن ))
     “อัลลอฮฺทรงมองลงมายังบรรดาผู้เป็นบ่าวของพระองค์ในค่ำคืนกลางเดือนชะอฺบาน และทรงให้อภัยโทษต่อทุกคน ยกเว้นผู้ที่ตั้งภาคีกับพระองค์(ทำชิริก) และผู้มีความโกรธกริ้วกับพี่น้องของเขา”

    จากหะดีษบทนี้เราจึงต้องค้นหาและตรวจสอบหัวใจของเรา เพื่อขจัดการทำชิริกหรือการศรัทธาต่อผู้อื่นนอกจากพระองค์ และขจัดความโกรธกริ้วต่อพี่น้องมุสลิมโดยไร้เหตุผลแห่งหลักการ เพื่อให้หัวใจของเรานั้นเป็นหัวใจอันบริสุทธิ์ จึงมีสิทธิ์ได้รับการอภัยโทษในเดือนชะอฺบาน

    ส่วนการทำชิริกนั้นอาจเป็นเรื่องที่บรรดาผู้ศรัทธาคงประมาทและคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะมีอีมานในหัวใจอยู่แล้ว แต่แท้จริงเรื่องชิริกนั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวซึ่งทุกคนมีโอกาสกระทำชิริกโดยไม่รู้สึกก็ได้ แม้กระทั่งนบีอิบรอฮีมซึ่งเป็นมิตรกับพระองค์อัลลอฮฺ(ค่อลีลุลลอฮฺ) ก็ยังวิงวอนดุอาอฺต่ออัลลอฮฺให้คุ้มครองจากการไหว้รูปเจว็ด ท่านอิบรอฮีม อัตตัยมียฺ กล่าวว่า ใครเล่าที่จะคิดว่าตนเองปลอดภัยจากชิริก แม้แต่นบีอิบรอฮีมยังกลัวชิริกเลย

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม   ยังเตือนประชาชาติของท่านไว้ว่า

    (( أخوف ما أخوف عليكم الشرك الأصغر ، فسئل عنه ؟ فقال : الرياء ))
     “สิ่งที่ฉันเกรงมากว่าพวกท่านจะปฏิบัติคือ ชิริกเล็ก” ท่านนบีถูกถามว่า “ชิริกเล็กนั้นคืออะไร?” ท่านจึงตอบว่า “อัรริยาอฺ” หมายถึง การโอ้อวด ปฏิบัติอิบาดะฮฺอย่างไม่สุจริตใจ ส่วนการโกรธกริ้ว อิจฉาริษยา ความเกลียดชัง เป็นเรื่องที่ปรากฏในหมู่ผู้ศรัทธาอย่างมากมาย ซึ่งจะขัดขวางความเมตตาและการอภัยโทษมิให้ปรากฏกับผู้กระทำความดี แม้ว่าเขาจะเป็นมุอฺมินก็ตาม

      อิมามมุสลิมได้รายงานหะดีษจากท่านอบีฮุรอยเราะฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม   กล่าวว่า

     (( تفتح أبواب الجنة يوم الإثنين والخميس ، فيغفر لكل عبد لايشرك بالله شيئا إلا رجلا كانت بينه وبين أخيه شحناء فيقول : أنظروا هذين حتى يصطلحا))  

    “ประตูแห่งสวรรค์จะถูกเปิดทุกวันจันทร์และวันพฤหัส การอภัยโทษจะประสบกับบ่าวทุกคนที่ไม่กระทำชิริกทั้งสิ้น เว้นแต่บุคคลที่มีความโกรธกริ้วกับพี่น้องของเขา จึงมีคำประกาศว่า จงเลื่อนเวลาการอภัยโทษของสองคนนี้จนกว่าเขาจะคืนดีกัน”

    สำหรับค่ำคืนกลางเดือนชะอฺบานที่เราเรียกกันว่า “นิสฟูชะอฺบาน” ไม่มีอิบาดะฮฺพิเศษใดๆ ที่ควรจะปฏิบัติในค่ำคืนนี้โดยเฉพาะ มีเพียงการทำอิบาดะฮฺที่เราเคยกระทำทุกคืน และไม่มีดุอาอฺ(บทวิงวอน)เฉพาะค่ำคืนนี้ ดังที่ปรากฏกับบางกลุ่ม

    ส่วนการถือศีลอดในเดือนชะอฺบานนั้นไม่มีข้อห้าม ยกเว้นการถือศีลอดในสองวันสุดท้ายของเดือนชะอฺบาน เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ห้ามไว้ เพื่อจำแนกระหว่างเดือนชะอฺบานกับเดือนรอมฎอน ยกเว้นกรณีที่ถือศีลอดซุนนะฮฺอย่างสม่ำเสมอ และไปตรงกับสองวันที่ต้องห้ามนี้ จึงเป็นการอนุญาตให้ถือศีลอดเหมือนปกติ ซึ่งปรากฏในบันทึกของอบูดาวู้ดและอันนะซาอียฺ รายงานจากท่านฮุซัยฟะฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า

    (( لا تَقَدَّمُواْ الشَّهْرَ بِيَوْمٍ وَلا يَوْمَيْنِ إِلا أَنْ يُوَافِقَ ذَلِكَ صَوْمَاً يَصُوْمُهُ أَحَدُكُمْ ))
    “พวกท่านอย่าถือศีลอดล่วงหน้าเดือนรอมฎอน (ก่อนเข้าเดือนรอมฎอน) หนึ่งวันหรือสองวัน เว้นแต่จะตรงกับการถือศีลอดที่พวกท่านถือไว้อยู่แล้ว (คือปฏิบัติเป็นประจำ เช่น ทุกวันจันทร์หรือวันพฤหัส)”

    จากข้อมูลที่ผ่านมา ผู้ศรัทธาจึงต้องตระหนักในความประเสริฐของเดือนชะอฺบาน อันเป็นพื้นฐานแห่งการทำอิบาดะฮฺอย่างมั่นคง  เพราะการขาดความรู้และการศึกษาในความประเสริฐของการทำอิบาดะฮฺ ย่อมจะส่งผลให้ผู้ศรัทธานั้นไม่มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติอิบาดะฮฺ ซึ่งจำเป็นต้องกลับไปแสวงหาสิ่งที่จะทำให้ปลุกจิตศรัทธาและความปรารถนาในการสะสมผลบุญ โดยเฉพาะในฤดูการทำอิบาดะฮฺเช่นเดือนชะอฺบานและเดือนรอมฎอน จึงขอฝากไว้กับพี่น้องผู้อ่านให้เป็นบทเรียนที่ควรจะนำไปเผยแผ่กับครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อนฝูง และพี่น้องผู้ศรัทธาโดยทั่วไป ขออัลลอฮฺทรงประทานความเตาฟีก การช่วยเหลือเพื่อยืนหยัดในการทำอิบาดะฮฺอย่างบริสุทธิ์ใจและสม่ำเสมอ และขอให้พี่น้องทุกท่านมีชีวิตยืนยาวด้วยสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ อันเป็นเสบียงแห่งการทำอิบาดะฮฺอย่างเคร่งครัดเถิด